top of page
รูปภาพนักเขียนออมสิน หงคําเมือง

สัตว์ 18 สายพันธุ์ที่สูญพันธุ์โดยมนุษย์ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา!

“การสูญพันธุ์” เป็นคำศัพท์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สำหรับอธิบายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่กำลังจะตายจนหมดไปจากโลก สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่ที่เดวิดพูดถึงมนุษย์เป็นผู้ทำให้สัตว์เหล่านั้นสูญพันธุ์

มนุษย์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์หลายสายพันธุ์ เช่น การล่าสัตว การล่าอาณานิคม มลพิษทางอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การทำเกษตรกรรมเชิงอุตสาหกรรมที่ทำลายถิ่นฐานตามธรรมชาติของสัตว์หลายสายพันธุ์

และยังมีสารคดี การสูญพันธุ์ (Extinction) โดย เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ ได้แสดงถึงความจริงที่ทำให้เราตระหนักถึงสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ต่อธรรมชาติ และยังเป็นสัญญาณที่บอกว่ามนุษย์กำลังคุกคามสัตว์และพืชกว่าล้านสายพันธุ์และอาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ในอนาคต

ภาพวาดที่น้องๆจะได้เห็นข้างล่างคือบรรดาสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อศตวรรษที่ผ่านมา พร้อมกับบอกช่วงเวลาและสาเหตุที่สัตว์เหล่านั้นสูญพันธุ์





นกแก้วสวรรค์

นกแก้วสวรรค์เดิมสามารถพบได้ในออสเตรเลียตะวันออก และนกแก้วสวรรค์ก็ไม่ถูกพบอีกเลยตั้งแต่ปี 1928 ตามที่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุไว้ใน ‘บัญชีแดง’ ของสายพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ได้กล่าวว่าสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ของนกแก้วสวรรค์คือ ภัยแล้ง การกินหญ้าที่มากเกินไปของสัตว์เลี้ยงที่กินหญ้าเป็นอาหาร และผู้คนตัดต้นยูคาลิปตัสซึ่งเป็นที่อยู่ของนกแก้วสวรรค์มากเกินไป




หมาป่าซิซิเลียน

จากผลการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเวโรนา หมาป่าซิซิเลียนสูญพันธุ์จากการถูกฆ่าเพื่อไปเป็นอาหารของคนเลี้ยงปศุสัตว์บนเกาะ คนพื้นเมืองของเกาะซิซิลี่คิดว่าการสูญพันธุ์ของหมาป่าซิซิเลียนคือการขาดแคลนแหล่งอาหารจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมบนเกาะ




เสือทัสมาเนีย

นักล่าอาณานิคมชาวยุโรปกลัวเสือทัสมาเนียและคิดว่าพวกมันอาจจะกินแกะที่พวกเขาเลี้ยงเอาไว้ ดังนั้นพวกเขาจึงล่าและฆ่าพวกมันเพื่อลดจำนวนประชากรของเสือทัสมาเนียลง และในปีต่อ ๆ มาเสือทัสมาเนียก็กลายเป็นสัตว์ที่พบเจอได้ยากขึ้น เพราะว่าเสือทัสมาเนียได้ถูกล่าเพื่อนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์และสวนสัตว์ เสือทัสมาเนียตัวสุดท้ายตายในสวนสัตว์โฮบาร์ตในปี 1936





ผีเสื้อสีฟ้า Xerces

ผีเสื้อสีฟ้า Xerces จะอาศัยอยู่บริเวณเนินทราย บริเวณชายฝั่งของทะเลในซานฟรานซิสโก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพวกมันได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี 1940 ผีเสื้อสีฟ้า Xerces เป็นผีเสื้อสายพันธุ์อเมริกันชนิดแรกที่สูญพันธุ์เนื่องจากการรุกล้ำถิ่นที่อยู่จากการขยายเมือง





สิงโตทะเลญี่ปุ่น

สิงโตทะเลญี่ปุ่นถูกล่าเพื่อเอาหนัง หนวด อวัยวะส่วนต่าง ๆ และไขมัน นอกจากนี้พวกมันยังถูกล่าเพื่อนำไปใช้ในการแสดงละครสัตว์ การสูญพันธุ์ของพวกมันอาจรวมไปถึงการถูกล่าจากชาวประมงและการถูกยิงโดยทหาร สิงโตทะเลญี่ปุ่นถูกพบครั้งสุดท้ายในปี 1950





วอลลาบีเล็บหางเสี้ยว

สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องขนาดเล็กเหล่านี้พบได้ทั่วไปทางตะวันตกเฉียงใต้และภาคกลางของออสเตรเลีย จนกระทั่งสุนัขจิ้งจอกและแมวที่ถูกนำเข้ามาโดยนักล่าอาณานิคมยุโรปเริ่มล่าพวกมัน การทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกมันสูญพันธุ์ไปในปี 1950





แอนทีโลปสายพันธุ์ Bubal

จากข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) พบกว่าการสูญพันธุ์ของแอนทีโลป Bubal hartebeest มาจากการล่าแอนทีโลปที่มากเกินไปของมนุษย์ และนำไปสู่การสูญพันธุ์ของพวกมัน ในปี 1950 ที่สุดท้ายที่พวกมันอาศัยอยู่คือบริเวณทุ่งหญ้าในแอฟริกาเหนือ





แมลงปอ St. Helena Darter

แมลงปอชนิดนี้พบได้เฉพาะบนเกาะภูเขาไฟเซนต์เฮเลนาในมหาสมุทรแอตแลนติก พวกมันถูกพบเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1963 ข้อสันนิษฐานของการลดลงของแมลงปอสายพันธุ์นี้อาจเป็นผลจากการที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลายอย่างหนักหลังจากที่เกาะนี้ตกเป็นอาณานิคมในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้อาจเกิดจากสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ถูกขยายพันธุ์โดยมนุษย์เข้ามารุกราน เช่น กบเล็บแอฟริกัน





นก Kākāwahie

นกสายพันธุ์นี้ถูกพบรั้งสุดท้ายที่เขตอนุรักษ์ Kamakou ในปี 1963 จากข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ในปี 1890 พบว่าการสูญพันธุ์ของนก Kākāwahie เกิดจากทั้งการทำลายถิ่นที่อยู่และการเชื้อโรคที่ถูกแพร่ระบาดโดยยุงที่ถูกปรับเปลี่ยนพันธุกรรมโดยมนุษย์





จิ้งจอกบินแห่งเกาะกวม

จากข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) พบว่าจิ้งจอกบินสูญพันธุ์โดยฝีมือของมนุษย์ โดยการล่าเพื่อนำไปทำเป็นอาหาร และถูกล่าจากงูต้นไม้สีน้ำตาล (ที่มนุษย์เป็นคนนำเข้ามา) จิ้งจอกบินนี้กลุ่มสุดท้ายถูกยิงโดยนักล่า และไม่มีการพบเห็นอีกเลยตั้งแต่ปี 1968





เสือโคร่งเปอร์เซีย

เสือโคร่งเปอร์เซียเป็นแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวผู้อาจมีความยาวถึง 3 เมตร พวกมันถูกพบครั้งสุดท้ายในปี 1970 การลดลงของประชากรเสือโคร่งเปอร์เซียเริ่มเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 เนื่องจากถูกล่าโดยกองทหารอาณานิคมของรัสเซีย และที่อยู่อาศัยของพวกมันถูกทำลายโดยมนุษย์เพื่อใช้ในการทำการเกษตร





ปลาหวีเกศ

ปลาหวีเกศสูญพันธ์ุจากการสร้างที่อยู่อาศัยที่รุกล้ำแม่น้ำ พวกมันถูกพบเป็นครั้งสุดท้ายระหว่างปี 1975 และ 1977 การสร้างเขื่อน คลอง มลพิษที่ร้ายแรงในแม่น้ำเจ้าพระยา และการระบายน้ำเสียลงในน้ำอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกมันสูญพันธุ์





นิวต์ทะเลสาบยูนนาน

นิวต์ทะเลสาบยูนนานสูญพันธุ์เพราะทะเลสาบคุนหมิงซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกมันได้ถูกทำลายและได้รับผลกระทบจากมลพิษ นอกจากนี้การสร้างเมืองใหม่บริเวณพื้นที่ของทะเลสาบ การเลี้ยงเป็ด และการนำเข้าสายพันธุ์ปลาและกบจากต่างประเทศยังเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้พวกมันสูญพันธุ์ นิวต์ทะเลสาบยูนนานถูกพบเป็นครั้งสุดท้ายในปี 1979





คางคกสีทอง

คางคกน้ำจืดสีทองอาศัยอยู่ที่ป่าเมฆที่คอสตาริกา การสูญพันธ์ุของพวกมันมีหลายสาเหตุ จากข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) พบว่า ภาวะโลกร้อน โรคติดเชื้อ และมลพิษทางอากาศมีส่วนที่ทำให้คางคกสีทองสูญพันธุ์ ก่อนหน้านี้คางคกสีทองเป็นพันธุ์ที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่มันกลับถูกพบครั้งสุดท้ายในปี 1989





หอยทาก Rotund

หอยทาก Rotund เคยถูกพบในแม่น้ำคูซาในรัฐอลาบามา และไม่ถูกพบอีกเลยตั้งแต่แม่น้ำนี้ถูกเปลี่ยนเป็นเขื่อน 7 แห่งและโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าในปี 1990





ไอเบกซ์ พิเรเนียน

ไอเบกซ์สายพันธุ์พิเรเนียน เป็นแพะชนิดหนึ่งที่พบได้บนเทือกเขาพิเรเนียน จำนวนของพวกมันค่อย ๆ ลดลงในช่วงสองศตวรรษ เนื่องมาจากการถูกล่า เชื้อโรค และความสามารถที่จะอาศัยอยู่กับแพะสายพันธุ์อื่นได้ ไอเบกซ์ตัวสุดท้ายที่ถูกพบเป็นเพศเมีย ชื่อ Celia ซึ่งได้ตายภายในปี 2000 ในปี 2003 มีการเปิดเผยว่าพวกมันยังไม่สูญพันธุ์ เพราะไอเบกซ์เพศเมียที่ถูกโคลนไว้กำเนิดขึ้น แต่ในอีกไม่กี่นาที่ต่อมามันก็เสียชีวิตลงเพราะปอดทำงานผิดปกติ




เต่ายักษ์พินตา

จากข้อมูลองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กล่าวเกี่ยวกับเต่ายักษ์พินตาว่า เป็นเต่าสายพันธุ์กาลาปากอส มีถิ่นกำเนิดที่เกาะพินตา ประเทศเอกวาดอร์ พวกมันถูกล่าโดยกะลาสีเรือเพื่อนำไปทำเป็นเสบียง ในศตวรรษที่ 20 แม้ว่าเต่าพินตาจะมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ แต่ชาวประมงก็ยังคงล่าพวกมัน ในปี 1959 มนุษย์ได้นำแพะมาเลี้ยงบนเกาะและพวกมันได้ทำลายถิ่นที่อยู่ของเต่า การตายของเต่าพินตาตัวสุดท้าย (หรือที่รู้จักกันคือ จอร์จผู้โดดเดี่ยว ที่ถูกกักขังไว้ตั้งแต่ปี 1972) เมื่อเดือนมิถุนายน 2012 ถือเป็นการสูญพันธุ์ของเต่าสายพันธุ์นี้





แรดดำแอฟริกาตะวันตก

แรดดำแอฟริกาตะวันตกได้รับการยืนยันว่าสูญพันธุ์ในปี 2011 ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันพบว่าเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 มีแรดดำประมาณ 1 ล้านตัวจากสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไป 4 สายพันธุ์ได้หากินในบริเวณทุ่งหญ้าสะวันนาของแอฟริกา ต่อมาในปี 2001 จำนวนประชากรแรดดำได้ลดลงเหลือประมาณ 2,300 ตัว และเหลือเพียง 3 สายพันธุ์ กีฬาล่าสัตว์ที่กลายมาเป็นกิจกรรมยอดฮิตได้ทำให้ประชากรแรดลดลงอย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นถิ่นที่อยู่ของพวกมันถูกทำลายโดยการเกษตรเชิงอุตสาหกรรม


ขอขอบคุณแหล่งที่มา: https://www.greenpeace.org/thailand/story/19157/general-18-animals-that-became-extinct-in-the-last-century/



จากกการที่มนุษย์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์หลายสายพันธุ์หรือมนุษย์อาจจะเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดลอมจริงๆ? คุณคิดอย่าไรกับสิ่งนี้หล่ะ?

ดู 122 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page