top of page
รูปภาพนักเขียนUNCOMMON VOLUNTEER

10 วิธีแก้ปัญหา! Portfolio สวยแต่ไม่สื่อสาร

ในตอนนี้หลายๆ มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัคร TCAS65 ในรอบที่ 1 หรือ รอบ Portfolio กันแล้วแต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในการทำพอร์ตก็คือ "สวย แต่ ไม่สื่อสาร" ดังนั้นทางเรา Uncommon Co-Op ก็ได้รวบรวม วิธีการแก้ปัญหานี้ ว่าจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรมาให้ทุกคนได้รู้กัน





1. หน้าปกชื่อนามสกุล มักใส่เป็น font ภาษาอังกฤษ เพราะดูดีและสวยกว่า แต่! ใบรายชื่อ ที่ให้ลงคะแนนนั้นเป็นภาษาไทย Portfolio มีคนสมัครจำนวนมาก ชื่อบางคนนั้นก็ใกล้เคียงกัน กรรมการจะต้องพยายามสะกดภาษาอังกฤษให้เป็นเป็นภาษาไทยจึงมีโอกาสที่จะพลาดหรือหาชื่อไม่เจอ ดังนั้นใช้ควรใช้ภาษาไทยจะดีกว่า


2. ปก portfolio ไม่ใช่หนังสือแฟชั่น หรือโชว์ถ่ายแบบ จึงไม่ควรใช้รูปมองเหม่อ ที่แนะนำคือ * รูปควรสบตากับคนอ่าน ดวงตาจะช่วยสื่อสารได้ จะมุ่งมั่น เป็นมิตร มั่นใจ สุภาพ เรียบร้อย รูปสบตาสามารถช่วยสื่อสารได้ ส่วนชุด ท่าท่าง ให้สอดคล้องบุคลิกสาขาที่สมัคร ที่เหมาะสมที่สุดคือชุดนักเรียน


3.คำนำ ถ้าไม่มีอะไรสร้างสรรค์ไปกว่าแพทเทิร์นที่ลอกๆ กันมา เช่น " แฟ้มสะสมผลงานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมฯฯฯ" ไม่ควรใส่มา ในส่วนของกรรมการ ถ้าเห็นขึ้นต้นแบบนี้จะเปิดผ่านหน้านี้เลยเพราะเสียเวลา ดังนั้นถ้าจะใส่ หรือ ต้องใส่ คำนำจงตั้งใจเขียนด้วยตัวเอง ไม่ต้องยาว แนะนำว่าเขียนว่าทำไมถึงอยากเรียนสาขานี้ก็ได้


4. สารบัญ พอร์ทมีแค่ 10 หน้า เปิดไม่กี่ทีก็ครบแล้ว แต่ละหน้าไม่ได้หายากอะไร ต้องเปิดดูหมดอยู่แล้วจึงไม่ต้องใส่มาก็ได้ แต่ถ้าจะใส่ ควรทำให้มีประโยชน์มากกว่าบอกแค่ว่าอะไรอยู่หน้าไหน


5.เกียรติบัตร ทุกคนก็จะพยายามใส่มา บางคนมีมาก บางคนมีน้อย บางคนใส่หน้าละใบ บางคนใส่ หลายใบใน 1 หน้า ข้อแนะนำคือ อันไหนเด่น อันไหนยิ่งใหญ่ ไฮไลท์ให้ดูเด่น กรรมการไม่อ่านเกียรติบัตรทุกบรรทัดหรอก ดังนั้น บางใบเราอยากโชว์ว่า ได้จากองค์กรที่ยิ่งใหญ่ วิธีนำเสนอคือ นอกจากใส่ภาพเกียรติบัตรนั้นมา ควรมีข้อความด้านล่างเขียนถึง " สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนั้น หรือ รายละเอียดเพิ่มเติมถึงรางวัล/กิจกรรมนั้น " จะทำให้เกียรติบัตรใบนั้นๆ มีคุณค่ามากขึ้น ไม่งั้นกรรมการอาจมองผ่านไปเลยก็ได้


6. สมัครโครงการอะไร พยายามดูเนื้อหาของพอร์ทให้ฃสื่อสารไปทางนั้น สมัครเด็กดีมีคุณธรรม วิชาการเก่ง เด็กกิจกรรม ทำเสร็จลองเปิดดูว่า มันสื่อสารว่าตัวเราไปในทิศทางนั้นไหม? หรือจับฉ่าย ดูไม่ออกว่าเด็กคนนี้เป็นอย่างไร ถนัดอะไร


7.พอร์ทต้องสวยไหม? ถึงแม้ว่าความสวยงามจะไม่ถูกบอกว่าเป็นคะแนน แต่มันมีผลอยู่บ้าง มันสื่อสารถึงความตั้งใจ ใส่ใจ ใครไม่ชอบเห็นสิ่งสวยงาม? มันอาจมีอิทธิพลอยู่ลึกๆ แต่พอร์ทที่สวยและดี ไม่ใช่ต้องจ้างทำ แต่พอร์ทที่ดีคือ พอร์ทที่สื่อสารไปยังกรรมการ ว่า "เลือกเด็กคนนี้สิ"


8. อย่าสะกดผิด! ก่อนส่ง ก่อนพิมพ์ ออกมาเป็นเล่ม ตรวจดูให้ดี อย่ามีคำผิด เช่น บางครั้งผิดแม้แต่ชื่อตัวเอง ชื่อมหา'ลัย มันสื่อถึงความไม่ตั้งใจ ไม่รอบคอบ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้กรรมการไม่ประทับใจได้ อย่าพลาด อ่านดีๆ ตรวจทุกหน้า ใช้เวลากับเรื่องนี้ พอๆ กับความสวยงามของพอร์ต


9. เรื่องสีมหา'ลัย สีคณะ โลโก้มหาลัย อยากจะเอาใจกรรมการ อย่าไปซีเรียสมาก เน้นออกมาแล้วสื่อสารความเป็นเรา สามารถสื่อสารและสอดคล้องกับคุณสมบัติ สิ่งที่คณะนั้นๆ ตามหาจะสำคัญกว่า


10. คนที่มีดี เก่ง กิจกรรมเลิศ แต่ไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่มีนั้นผ่านพอร์ตออกมาให้กรรมการเห็นได้ ก็อาจไม่ใช่ผู้ผ่านคัดเลือกในรอบนี้ เช่นเดียวกันกับบางคนอาจไม่ใช่เก่งที่สุดแต่สื่อสารสำเร็จ ก็มีโอกาสเช่นเดียวกัน สิ่งที่ต้องทำ - รู้จักตัวเอง เรามีดีอะไร จุดขายคืออะไร - รู้จักคณะสาขาที่จะยื่น เขาต้องการคนแบบไหน - ศึกษาระเบียบการ - รวบรวมข้อมูล เอกสาร ภาพ - จัดทำ Port/ตรวจทาน - ให้คนรอบตัว เพื่อน ครู รุ่นพี่ ช่วยดู ว่า " คิดว่า เป็นกรรมการจะเลือกไหม เพราะอะไร?" - แก้ไขให้ดีขึ้น

Comments


bottom of page