top of page
รูปภาพนักเขียนUNCOMMON GROUP

คู่มือทำพอร์ตฟอลิโอ จากผู้ทำพอร์ตกว่า 300 เล่ม ถ้าทำได้ตามนี้ เตรียมติดรอบพอร์ตเลย !

ผ่านมาหลายปีสำหรับระบบ TCAS รุ่นพี่หลายคนก็ได้มอบเทคนิคและไอเดียในการทำพอร์ตฟอลิโอให้น้อง ๆ ไว้มากมาย Uncommon Volunteer จึงได้มารวมแนวคิดเกี่ยวกับ

การออกแบบพอร์ตฟอลิโอแบบ CHECK LIST ให้น้อง ๆ ได้ทำตามได้เลย

ตรวจสอบเงื่อนไข

เพราะความเข้าใจเงื่อนไข จะบอกทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำในตัวของมันเอง

  • คุณสมบัติที่ทางมหาวิทยาลัย + คณะต้องการ ข้อนี้สำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นมาตรฐานที่สำคัญที่ว่าน้อง ๆ จะได้ไปต่อหรือไม่ นอกจากนี้ ยังสำคัญที่จะช่วยเป็นตัวนำทางให้กับน้อง ๆ ตลอดการทำพอร์ตฟอลิโออีกด้วย

    • คุณสมบัติที่เขียนไว้ จะบอกน้อง ๆ เป็นนัย ว่าน้อง ๆ ควรใส่ผลงานที่เห็นศักยภาพด้านใด เช่น เน้นความเป็นผู้นำ เน้นทักษะที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

    • นอกจากนัยยะ ที่เกี่ยวกับผลงานแล้ว ยังเป็นนัยยะเกี่ยวกับการสื่อสาร คำบรรยาย ที่ควรใช้ในพอร์ตฟอลิโออีกด้วย

    • ยิ่งกว่านั้นคือ ถ้าน้อง ๆ ได้โอกาสสัมภาษณ์ ก็ยังเป็นสิ่งที่คณะกรรมการคาดหวังจะพบสิ่งเหล่านั้นในตัวน้อง ๆ เช่นกัน !

  • เงื่อนไขระยะเวลา และกำหนดการ น้อง ๆ ก็ควรตรวจสอบให้ดีเหมือนกัน เพราะนอกจาก Daedline ที่น้อง ๆ จะต้องคิดถึงแล้ว น้อง ๆ ควรคิดในมุมของพฤติกรรมที่จะสื่อสารถึงความกระตืนรือร้นที่มีต่อการยิ่นพอร์ตฟอลิโอไหม

    • กรอบเวลาที่มี น้อง ๆ จะวางแผนให้กับตัวเองอย่างไร ให้การทำพอร์ตฟอลิโอมาดีที่สุด

    • ถ้าส่งในวันที่เป็น Deadline กรรมการจะเห็นผลงานน้องเป็นเล่มที่เท่าไร และโอกาสจะเหลือมาให้น้องเท่าไร ?

    • ถ้าต้องการให้กรรมการเห็นถึงความกระตือรือล้น ก็ต้องเล่นกับเวลาด้วย ไม่บีบตัวเองจนเกินไป เพราะจะทำได้ไม่เต็มที่ และไม่ปล่อยตัวเองจนเกินไป เพราะจะทำให้เสียโอกาสได้ง่าย



วางแผนการออกแบบและแนวทางการสื่อสาร

น้องกำลังสื่อสารตัวตนของตนเอง ไม่ใช่ตัวตนของมหาวิทยาลัย เลือกแบบที่ตัวเองจะทำได้ดีที่สุด ไม่ใช่แบบที่ฝืนตัวเองที่สุด
  • รูปแบบงานดีไซน์ การออกแบบที่ดี ไม่ใช่การออกแบบที่เละที่สุด หรือการออกแบบที่เอาอะไรก็ไม่รู้มายัดใส่เต็มไปหมด ดูจากตัวอย่างงานออกแบบของมืออาชีพหลาย ๆ คนก็จะรู้ได้เลยว่างานดีไซน์ที่ดี คืองานดีไซน์ที่สื่อสาร เป็นระเบียบ แต่ครบถ้วน ถ้าไม่รู้ว่าจะสามารถเริ่มต้นได้ยังไง เริ่มที่ "ทำให้ดูง่ายไว้ก่อน"



  • รูปแบบรูปภาพที่จะใช้ ก็ยังอยู่ในเรื่องของการสื่อสารเช่นกัน ลองคิดตามนะ

    • ถ้าใส่รูปถือไมค์ พูดบนเวที = เราดูมีความสามารถในการเป็นผู้นำ และมีความมั่นใจ

    • ถ้าใส่รูปตอนวางแผนงานกับทีม = เราดูมีความสามารถในการเป็นผู้นำ และวางแผนได้ดี

    • ถ้าใส่รูปถ่ายรวม ซึ่งเราอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ = เราเป็นส่วนหนึ่งของงาน ซึ่งอาจไม่ได้สื่อสารว่าเรามีบทบาทที่โดดเด่นขนาดนั้น



  • การเลือกใช้สี ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งเป็นเดียวกัน เพราะในทางการออกแบบแล้วนั้น รูปแบบ สี ต่าง ๆ ก็มีผลต่อการชี้นำความรู้สึกเช่นกัน ซึ่งควรเลือกสีที่ตรงกับบุคลิกและแนวทางการสื่อสารของตนเอง ไม่ใช่สีคณะหรือมหาวิทยาลัยเป็นหลัก (เพราะทำร้อยคนก็ทำสีเดียวกัน จะไปโดดเด่น ดึงใจกรรมการได้ยังไง) ตัวอย่างการสื่อสารของสีก็เช่น

    • สีน้ำเงิน = ผู้นำ มีความน่าเชื่อถือ

    • สีแดง = โดดเด่น มีความกระตือรือร้น

  • นอกจากสีหลักที่ใช้ในการชี้นำการสื่อสารแล้วนั้น ก็ต้องคำนึงถึงสีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น

    • สีที่ 2 และ 3 ที่จะมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบคู่กับสีหลัก ซึ่งจะใช้ในอัตราส่วนที่น้อยกว่าสีหลัก

    • สีต่าง ๆ ควรใช้หลักการหรือทฤษฏีสีเข้ามาช่วย

    • สีพื้นหลัง (โทนเข้มหรือสว่าง)

    • สีตัวหนังสือ ที่ตัดกับสีพื้นหลังชัดเจน

  • ตัวหนังสือ การเลือกใช้ตัวหนังสือ สามารถเลือกใช้ให้มีสไตล์ได้ แต่ควรแยกให้ออกระหว่างตัวหนังสือตกแต่ง และตัวหนังสือให้ข้อมูล

    • ตัวหนังสือตกแต่ง สามารถปรับแต่ง หรือใช้สไตล์ได้

    • ตัวหนังสือให้ข้อมูล ควรอ่านง่าย อย่าดึงความโดดเด่น




วางโครงสร้างของพอร์ตฟอลิโอ

บางทีหนังสือก็เป็นเรื่องน่าเบื่อ เวลากรรมการตัดสินต้องอยู่กับหนังสือเป็นร้อยเป็นพัน แล้วคิดดูว่าต้องวางโครงสร้างพอร์ตแบบไหน ให้หนังสือของเราไม่ทำสายตากรรมการล้า และอยากเขี่ยทิ้ง ทั้งยังสื่อสารตรงกับสิ่งที่กรรมการต้องการ


  • วางโครงสร้างภาพรวมให้ตอบโจทย์ การวางโครงสร้างแบบทั่ว ๆ ไปอย่างที่น้อง ๆ ทราบกัน คือ พอร์ตฟอลิโอ มี 10 หน้า ประกอบด้วย ปก คำนำ ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ภาพกิจกรรม เกียรติบัตร งานอาสา แค่นี้ใช่ไหมครับ แต่ถ้าอยากให้ดี เรามาลองออกแบบโครงสร้างให้น่าสนใจขึ้น โดยอ้างอิงตามสิ่งที่คณะกรรมการต้องการเห็นในพอร์ตฟอลิโอของเรา เช่น

    • โครงสร้างเน้นสื่อสารความเป็นผู้นำ ประกอบด้วย

      • ปกที่ใช้ภาพและการออกแบบที่สื่อสาร

      • เรียงความที่บ่งบอกถึงเป้าหมาย ความมุ่งมั่น แทนคำนำทั่วไป

      • ประวัติส่วนตัวที่เน้นอธิบายทักษะ ความสามารถ แทนข้อมูลเดิม ๆ ที่กรรมการรู้อยู่แล้ว

      • ประวัติการศึกษา ที่มีผลการสอบอื่น ๆ เข้ามาด้วย เพิ่มน้ำหนักทักษะของตนเอง เช่น IELTS TOEIC ฯลฯ

      • เปลี่ยนหัวข้อผลงาน/กิจกรรม เป็น ผลงานด้านความเป็นผู้นำ, ผลงานด้านทักษะการนำเสนอ, ผลงานด้านการบริหารโครงการ ฯลฯ

    • โครงสร้างเน้นสื่อสารทักษะงานศิลป์ ประกอบด้วย

      • ปกที่ใช้ภาพและการออกแบบที่สื่อสาร

      • เรียงความที่บ่งบอกถึงเป้าหมาย ความมุ่งมั่น แทนคำนำทั่วไป

      • ประวัติส่วนตัวที่เน้นอธิบายทักษะ ความสามารถ แทนข้อมูลเดิม ๆ ที่กรรมการรู้อยู่แล้ว

      • ประวัติการศึกษา ที่มีผลการสอบอื่น ๆ เข้ามาด้วย เพิ่มน้ำหนักทักษะของตนเอง

      • เปลี่ยนหัวข้อผลงาน/กิจกรรม เป็น ผลงานการแข่งขันทักษะด้านศิลป์ ผลงานการออกแบบและวาด ผลงาน NFT ฯลฯ



  • วางโครงสร้างเฉพาะหน้า นอกจากการวางโครงสร้างภาพรวมของพอร์ตทั้งเล่มแล้ว น้อง ๆ ต้องวางโครงสร้างของพอร์ตฟอลิโอเฉพาะหน้าด้วย ซึ่งการวางโครงสร้างพอร์ตฟอลิโอเฉพาะหน้านั้น ก็จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

    • ปริมาณผลงาน/ข้อมูลที่ต้องการใส่ในหน้านั้น ๆ เพราะจะทำให้น้อง ๆ ต้องคำนึงถึงการออกแบบด้วย เพราะถ้าต้องการให้ผลงานใดโดดเด่นมาก ๆ น้อง ๆ ก็ต้องอย่าใส่ผลงานจำนวนมากเข้าไปในหน้านั้น ๆ และให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผลงานนั้น ๆ มากกว่าผลงานอื่น ๆ

    • สำดับความสำคัญของข้อมูล การจัดวางข้อมูลในแต่ละหน้า ก็ต้องคำนึงถึงลำดับความสำคัญด้วย เพราะบางที การไม่คำนึงถึงส่วนนี้ก็อาจจะทำให้กรรมการนั้น อ่านไม่ถึงข้อมูลที่สำคัญที่น้องต้องการสื่อสารก็เป็นได้


เลือกผลงานเข้ามาตามโครงสร้างที่วางแผน

บางที ผลงานเดียวที่บ่งบอกทั้งหมดที่กรรมการต้องการ ก็มีประโยชน์กว่า 100 ผลงานที่ไม่เข้าสายตากรรมการเลย

หากน้อง ๆ วางโครงสร้างของผลงานที่ต้องการสื่อสารมาดี น้อง ๆ ก็จะสามารถเลือกผลงานที่เหมาะสมตามโครงสร้างที่วางไว้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังมีข้อเช็คลิสน้อย ๆ ที่จำเป็นในการเลือกผลงาน ได้แก่

  • ผลงานนั้นเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ตนเองกำหนดไว้ไหม

  • ผลงานนั้น เป็นสิ่งที่คณะกรรมการต้องการรู้ หรืออยู่ในขอบเขตที่กรรมการต้องการรึเปล่า

  • ผลงานนั้น สื่อสารมากแค่ไหน สำคัญมากแค่ไหน ควรออกแบบหรือวางตำแหน่งให้เด่นมากแค่ไหน

  • ผลงานนั้นสำคัญมาก/น้อยแค่ไหน และควรให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับผลงานนั้น ๆ บ้าง




เต็มที่กับการสื่อสารในแบบที่ตั้งเป้าหมายไว้

เลือกรูปแบบคำบรรยายที่เหมาะสม เข้าไปใส่ในพอร์ตฟอลิโอของตัวเอง

การสื่อสาร ไม่ได้มีแค่ ชื่อกิจกรรม และคำอธิบายกิจกรรมเท่านั้น แต่น้อง ๆ ควรจะสื่อสารให้เห็นถึงสิ่งที่ได้รับ ประสบการณ์ที่ได้รับ นอกจากนั้น อย่าลืมการสื่อสารเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมหรือบทบาทในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วย ยิ่งถ้าน้อง ๆ สามารถสื่อสารได้ถึงความมุ่งมั่น ประสบการณ์ และความสำคัญของบทบาทของตนเองได้มากเท่าไร โอกาสที่กรรมการจะเห็นตัวตนของน้องและปักหมุดน้องไว้ก่อนสัมภาษณ์ก็มีสูงมาก ๆ เช่นกัน


ปิดจบกับการออกแบบอย่างมืออาชีพ

ถ้าทำพอร์ตฟอลิโอเสร็จแล้ว ก็อย่าลืมความเป็นมืออาชีพในรายละเอียดด้วย ตรวจสอบข้อมูลให้ดี พยายามอย่าพิมพ์ตก ตรวจสอบคำที่ไม่เหมาะสม และจำลองการอ่านว่า "ถ้าตัวเองดเป็นกรรมการ ตัวเองจะเลือกพอร์ตฟอลิโอเล่มนี้ไหม"

ถ้าสนใจอยากปรึกษาเรื่องพอร์ต

น้อง ๆ สามารถติดต่อแอดมิน Line @uncommonvolunteer หรือคลิกที่นี่ เพื่อขอปรึกษากับผู้เขียนได้โดยตรงเลยนะครับ ☺️